ผู้สูงอายุ ผู้ดูแล และ สัตว์เลี้ยง
" สัตว์เลี้ยง ได้รับการยอมรับว่า มีประโยชน์ในการบำบัดรักษาผู้สูงอายุ ที่ต้องต่อสู้กับความเหงา อาการซึมเศร้า หรือ ความเครียดได้อย่างดียิ่ง "
ทุกวันนี้ ‘Animal Therapy’ หรือ ที่เรารู้กันใน " สัตว์บำบัด " นั้นได้รับการยอมรับกว้างขวาง ในด้านการบำบัดรักษา ซึ่งมีทั้งสุนัขบำบัด แมวบำบัด ม้าบำบัด อย่างที่เราเห็นในข่าวที่เจ้าหมาที่วิ่งไปวิ่งมา คอยช่วยฟื้นฟูจิตใจผู้ป่วยตามโรงพยาบาล ต้องยอมรับว่าสัตว์เลี้ยงต่างๆ มีปรโยชน์กับการฟื้นฟูสภาพจิตใจมากจริงๆ
จากการศึกษา Psychosocial and Psychophysiological Effects of Human-Animal Interactions: The Possible Role of Oxytocin ที่ตีพิมพ์ในเว็บไซต์ frontiers ที่เป็นเว็บไซต์รวบรวมงานวิจัยเกี่ยวกับปฏิสัมพันธ์ต่างๆของสัตว์เลี้ยง ที่ส่งผลดีต่อมนุษย์ แสดงให้เห็นว่าสัตว์เลี้ยงส่งผลดีทั้งในด้านปฏิสัมพันธ์ในสังคม ลดความเครียด ความวิตกกังวล และช่วยฟื้นฟูด้านร่างกายได้อีกต่างหาก! อย่างเช่น งานวิจัยของ Marian R. Banks และ William A. Banks ชื่อ The Effects of Animal-Assisted Therapy on Loneliness in an Elderly Population in Long-Term Care Facilities ชี้ให้เห็นว่าการจัดให้มีสุนัขเข้าไปเยี่ยมเยียนคุณตาคุณยายที่อาศัยในบ้านพักคนชรา ช่วยลดความรู้สึกเหงาหงอย ลงได้อย่างดี นอกจากนี้เมื่อได้ลองให้พวกเขาเลี้ยงนกขมิ้น เป็นเวลา 3 เดือน ผลก็ปรากฏว่า ช่วยให้ลดความเครียด และเพิ่มระดับคุณภาพชีวิตให้กับคุณตาคุณยายได้
สำหรับประเทศไทย เองก็เริ่มเห็นกันบ้าง อย่างคณะสัตวแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ก็เคยจัดโครงการ ‘สัตว์บำบัดใจ’ ช่วยฟื้นฟูจิตใจของผู้สูงอายุเช่นกัน
ในการดูแลผู้สูงอายุนั้น บางครั้งพนักงานผู้ดูแล อาจต้องเผชิญกับ สัตว์เลี้ยงหลากหลายชนิด ที่ทางครอบครัวผู้สูงอายุ ใช้ในการบำบัด หรือ เลี้ยงไว้คลายเหงาให้กับผู้สูงอายุ ที่สำคัญสัตว์เลี้ยงที่ผู้ดูแลเผชิญนั้น มีพฤติกรรมได้หลากหลายเหมือนมนุษย์ ผู้ดูแลจะต้องไม่คิดไปเองว่า สัตว์เลี้ยงที่เผชิญ นั้นจะมีพฤติกรรมเหมือนกันทุกตัว และมีพฤติกรรมเหมือนกันในทุก ๆ ครั้งที่เข้าเยี่ยม ดังนั้นผู้ดูแลจำเป็นจะต้องมีการระมัดระวังและการป้องกันสัตว์เลี้ยงไว้ตลอดเวลา เพราะเราคือผู้บุกรุกเข้าไปในสถานที่ของเขา แม้แต่สัตว์เลี้ยงที่ดูท่าทางเป็นมิตร อาจจะป้องกันตนเองในบางสถานการณ์ที่เผชิญกับคนแปลกหน้า
ดังนั้นทางเราขอเสนอ วิธีที่สามารถใช้รับมือกับสัตว์เลี้ยง 12 ข้อ ซึ่งมีดังนี้
1 .จะต้องเอามือยื่นออกมา และหงายฝ่ามือขึ้ อณุญาตให้สัตว์เลี้ยง (สุนัข) ได้ดมมือของเรา
2 .อย่าไปจับ หรือคว้าบนตัวสัตว์เลี้ยง (สุนัข,แมว)
3 .อย่าเข้าใกล้ในกรณี สัตว์เลี้ยงหลับ ทานอาหาร แทะกระดูก หรือขณะเราอุ้มสัตว์เลี้ยงอื่นๆ เช่น ลูกแมว ลูกกระต่าย เป็นต้น
4 .อย่าทำเสียงดัง ส่งเสียงดัง หรือ เคลื่อนไหวตัวอย่างรวดเร็ว ให้พูดเบาๆ ช้าๆ ต่อสัตว์เลี้ยง
5 . กรณีเราจับตัวผู้สูงอายุ ต้องระมัดระวัง เพราะ สัตว์เลี้ยง(สุนัข) อาจจะหวงเจ้าของ แล้วคิดว่าเราจะทำร้ายเจ้าของ ซึ่งอาจทำให้สัตว์เลี้ยงทำร้ายเราได้
6 .อย่าจ้องตาสัตว์เลี้ยง ไม่ว่าจะเป็นตัวอะไรก็ตาม เพราะ การจ้องตาจะทำให้สัตว์เลี้ยงรู้สึก ถูกคุกคาม หรือถูกท้าทย ให้เราองไปที่ ด้านข้างของสัตว์เลี้ยง หรือ มองลงต่ำๆ
7 .อย่าเข้าใกล้สัตว์เลี้ยงที่มีขนตั้งขึ้น แยกเขี้ยว คำราม หรือ สุนัขที่ยกหางขึ้น หางชี้ขึ้น ซึ่งอาการเหล่านี้สัตว์เลี้ยงแสดงให้เห็นว่า กำลังโดนคุกคาม และจะต้องป้องกันตัว
8 .ต้องระวัง เวลาของหล่นใส่ตัวสัตว์เลี้ยง เมื่อเราก้มหยิบของ เขาอาจคิดว่าเราจะทำร้ายเขาได้
9 .ถ้าโดนสัตว์เลี้ยงก้าวร้าวทำร้าย ให้เดินไปอีกทาง หรือเดินไปยังที่ปลอดภัย ไม่หันหลังแล้ววิ่งเด็ดขาด เพราะจะเป็นการส่งสัญญาณให้สัตว์เข้ามาทำร้ายเราทันที
10.หลังจากสัมผัสสัตว์เลี้ยงต่างๆ จำเป็นต้องล้างมือผ่านน้ำ และฟอกสบู่ เสร็จแล้วตามด้วยล้างน้ำจนสะอาด เพราะถ้าล้างด้วยน้ำสะอาดอย่างเดียวอาจมีปรสิต หรือเชื้อโรค ทำให้เราติดเชื้อถึงแก่ชีวิต ได้
11.กรณีที่คิดว่า อาจสัมผัส เห็ม หมัด หรือปรสิต จากสัตว์เลี้ยง ให้พ่นยาฆ่าเห็บ บริเวณขา และเท้า ก่อนและหลังสัมผัส
12กรณีถูกสัตว์เลี้ยงกัด เป็นรู เป็นรอยเคี้ยว ให้ล้างด้วยน้ำสบู่ทันที
- ถ้าเป็นสุนัข หลังจากล้างแผล ให้พบแพทย์ทำแผล และฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า
- ถ้าเป็นแมว หลังจากล้างแผล ให้ดูอาการ เพราะแมวกัดอาจทำให้เกิดไข้ ติดเชื้อทางกระแสเลือดได้ กรณีติดเชื้อสังเกตจากการมีไข้ ปวด บวม แดง ร้อน ต่อมน้ำเหลือโตบริเวณ คอ แขน ถ้ามีอาการดังกล่าว ให้รีบไปปรึกษาแพทย์
- ถ้าเป็นสัตว์เลี้ยงที่มีพิษ ให้รีบพบแพทย์ให้เร็วที่สุด
ถึงแม้สัตว์เลี้ยงจะมีประโยชน์ในการบำบัดรักษา และ มีความน่ารัก แต่มันก็อาจเป็นภัยแก่เราได้ ดังนั้นเราต้องไม่ประมาทเมื่อ ต้องเผชิญหน้า กับสัตว์เลี้ยง
ที่มา : www.frontiers.com